Saturday, November 14, 2015

ประวัติความเป็นมาของรถไฟฟ้า BTS


ประวัติความเป็นมาของรถไฟฟ้า BTS


1. ประวัติความเป็นมาของรถไฟฟ้า BTS


            ถไฟฟ้า BTS เป็นรถไฟฟ้าสายแรกของประเทศไทยที่ดำเนินการโดย บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นโครงการที่ลงทุนโดยเอกชนทั้ง 100 % เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2542 ใน 2 เส้นทาง คือสายสุขุมวิท ระยะทาง   17 กม. ได้รับชื่อพระราชทานว่า "รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบพระชนมพรรษา สาย ๑"  และเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2552 ได้เปิดให้บริการส่วนต่อขยายสายสีลมอย่างเป็นทางการ จนมีการ เพิ่มสถานีต่างๆมาเรื่อยๆ มาจนถึงปัจจุบัน


ระบบ รถไฟฟ้าบีทีเอส เป็นระบบขนส่งมวลชนความจุสูงแบบมาตรฐาน ที่ใช้กันแพร่หลายในเมืองใหญ่ทั่วไป ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในการขับเคลื่อน วิ่งบนรางคู่ยกระดับ แยกทิศทางไปและกลับ โดยมีรางป้อนกระแสไฟฟ้าอยู่ด้านข้าง (Third Rail System) สามารถให้บริการแก่ผู้โดยสารได้มากกว่า 1,000 คน ต่อขบวน ในขณะที่การเดินทางโดยรถยนต์ ต้องใช้รถยนต์จำนวนมากถึง 800 คัน เพื่อขนส่งผู้โดยสารในจำนวนที่เท่ากัน นับได้ว่าการให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส เป็นการพลิกโฉมรูปแบบการเดินทาง และเป็นการปฏิวัติมาตรฐานการให้บริการของระบบขนส่งมวลชน
 
               นอกจากการให้บริการที่ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ใจกลางกรุงเทพมหานครซึ่งเป็น ศูนย์รวมของธุรกิจการค้า ย่านที่พักอาศัย และแหล่งช้อปปิ้งชั้นนำแล้ว เรายังมีโครงการส่วนต่อขยายเพื่อขยายพื้นที่สำหรับให้บริการ และเข้าถึงผู้โดยสารได้มากยิ่งขึ้น



 2. การให้บริการของรถไฟฟ้า BTS
 
       2.1 บัตรโดยสาร

  บัตรโดยสารรถไฟฟ้า บีทีเอส มีการพิมพ์เป็นลวดลายต่างๆ ตามความเหมาะสม และการโฆษณา ปัจจุบันแบ่งใช้งานออกเป็น 


1. บัตรโดยสารชนิดแถบแม่เหล็ก มี 2 ประเภท ได้แก่ 


        1.  บัตรประเภทเที่ยวเดียว คิดค่าโดยสารในอัตรา 2 สถานี ต่อ 5 บาท เริ่มต้นที่ 15 บาท สูงสุด 42 บาท โดยไม่รวมค่าโดยสารของส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท ซึ่งคิดค่าบริการแยกต่างหากในอัตรา 15 บาทตลอดสาย สามารถซื้อได้ที่เครื่องจำหน่ายบัตรโดยสารอัตโนมัติชนิดหยอดเหรียญ และใช้ธนบัตร โดยใช้ได้เฉพาะวันที่ซื้อเท่านั้น ซึ่งตู้จำหน่ายบัตรโดยสารอัตโนมัติชนิดหยอดเหรียญรับเฉพาะเหรียญ 5 บาท และ 10 บาทเท่านั้น (แต่ความจริงแล้วสามารถใช้เหรียญ 1 บาทในการซื้อบัตรที่ตู้จำหน่ายบัตรด้วย) ส่วนเครื่องจำหน่ายบัตรอัตโนมัติที่เพิ่มเติมขึ้นภายหลังสามารถรองรับเหรียญ 1 บาท 5 บาท และ 10 บาท รวมถึงธนบัตร 20 บาท 50 บาท และ 100 บาทได้ สามารถออกบัตรได้สูงสุด 10 ใบต่อครั้ง โดยให้บริการในบางสถานี ได้แก่ สถานีสะพานควาย อารีย์ สนามเป้า อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ พญาไท ชิดลม เพลินจิต อโศก พร้อมพงษ์ ทองหล่อ พระโขนง ราชดำริ ช่องนนทรี สุรศักดิ์ และสนามกีฬาแห่งชาติ


2.  บัตรประเภท 1 วัน ราคา 140 บาท ใช้เดินทางได้ไม่จำกัดจำนวนเที่ยวและระยะทาง สามารถซื้อได้ที่ห้องจำหน่ายบัตรโดยสารทุกสถานี


2.     บัตรแรบบิท (Rabbit Card) เป็นบัตรติดตั้งไมโครชิปไร้สายอาร์เอฟไอดี (RFID) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของบัตรสมาร์ตการ์ดแบบ ไม่มีการสัมผัส ให้บริการโดย บริษัท บางกอกสมาร์ทการ์ดซิสเท็ม จำกัด สามารถใช้เดินทางได้ทั้งระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส และระบบรถไฟฟ้ามหานคร อีกทั้งยังสามารถใช้จ่ายแทนเงินสดได้กับร้านค้าที่ร่วมรายการ เริ่มจำหน่ายครั้งแรกวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2555 และเริ่มใช้เดินทางได้ในวันเดียวกันทุกสถานี ซึ่งมีอยู่ 4 ประเภท ได้แก่ 




1.  แรบบิทมาตรฐาน เป็นบัตรแรบบิทมาตรฐาน แบ่งจำหน่ายให้บุคคล 3 ประเภท คือบุคคลทั่วไป, คนชรา และนักเรียน นักศึกษา โดยสามารถขอออกบัตรได้ที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสทุกสถานี และสามารถเติมเงินได้ตามสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีรถไฟฟ้ามหานคร หรือจุดบริการเติมเงินที่ธนาคารกรุงเทพมีให้บริการ มีค่าธรรมเนียมในการออกบัตร 300 บาท โดยแบ่งเป็น ค่าธรรมเนียมในการเปิดบัตรใหม่ 150 บาท ค่ามัดจำบัตร 50 บาท และยอดเงินเริ่มต้น 100 บาท สามารถเติมได้ทั้งเงินสด และเที่ยวการเดินทางตามโปรโมรชั่นของบีทีเอส หรือตามที่บริษัท บางกอกสมาร์ทการ์ดซิสเท็ม จำกัด เป็นผู้กำหนด บัตรมีอายุการใช้งาน 5 ปี สามารถเติมเงินสดได้สูงสุด 4,000 บาท โดยมีอายุ 2 ปี นับจากวันที่ใช้งานครั้งสุดท้าย


2.  แรบบิทพิเศษ เป็นบัตรแรบบิทที่บริษัท บางกอกสมาร์ทการ์ดซิสเท็ม จำกัด เป็นผู้ออกมาจำหน่ายในแบบจำนวนจำกัด โดยจะออกวางจำหน่ายตามเทศกาลต่างๆ เช่น วันพระราชสมภพ วันพระราชพิธี หรือวันสำคัญต่างๆ เป็นต้น


3.  แรบบิทธุรกิจ เป็นบัตรแรบบิทที่ออกตามความต้องการของบริษัทพันธมิตร โดยมีการออกลายหน้าบัตรเพื่อทำการประชาสัมพันธ์ หรือทำเป็นของที่ระลึกเนื่องในโอกาสต่างๆ โดยลายแรกของบัตรแรบบิทธุรกิจคือ บัตรแรบบิท-แครอท ลิมิเต็ด อิดิชั้น ที่ออกเพื่อเป็นการสมนาคุณกับสมาชิกบัตรหนูด่วนพลัส


4.  แรบบิทร่วม เป็นบัตรแรบบิทที่ออกร่วมกับองค์กรต่างๆ เช่นการรวมบัตรแรบบิทเข้ากับบัตรเอทีเอ็ม บัตรเดบิต หรือบัตรเครดิต หรือใช้บัตรแรบบิทเป็นบัตรนักศึกษา หรือใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ เป็นต้น



 

3. ข้อห้าม และข้อปฏิบัติ ในการใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส

 ข้อห้าม

  • ห้ามสูบบุหรี่ และนำวัตถุไวไฟ หรือวัตถุอันตรายเข้ามาในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส
  • ห้ามนำสัตว์ทุกประเภทเข้ามาในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส
  • ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่มในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส
  • ห้ามทิ้งสิ่งของออกนอกสถานี
  • ห้ามนำสัมภาระขนาดใหญ่ หรือสัมภาระที่มีน้ำหนักมากเข้ามาในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส
  • ห้ามขีดเขียน หรือทำความเสียหายแก่อุปกรณ์ในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส
  • ห้ามสวมรองเท้ามีล้อ และห้ามเล่นสเก็ตบอร์ด หรือขี่จักรยานในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส
  • ห้ามส่งเสียงดัง หรือแสดงพฤติกรรมที่ก่อความรำคาญ หรือก่อความไม่สะดวกในการใช้บริการของผู้โดยสารท่านอื่น
  • ห้ามวิ่ง เล่น ผลัก หรือหยอกล้อกันบริเวณชานชาลา
  • ห้ามลงรางโดยเด็ดขาด เพราะจะได้รับอันตรายจากขบวนรถและไฟฟ้าแรงสูง
  • ห้ามเข้าไปในเขตหวงห้ามบริเวณปลายชานชาลา
  • ห้ามยืนพิงประตู หรือเสา หรือยืนกีดขวางบริเวณประตูรถไฟฟ้า
  • ห้ามยึด หรือจับบริเวณยางที่เป็นรอยต่อระหว่างขบวนรถไฟฟ้า เพราะอาจเกิดอันตรายได้
  • ห้ามวางมือบริเวณประตูรถไฟฟ้า
  • ห้ามวางสัมภาระกีดขวางทางเดินในขบวนรถ

 ข้อปฏิบัติ

  • โปรดอ่าน หรือฟังประกาศ และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
  • โปรดรักษาความสะอาด และทิ้งขยะลงในถังที่จัดเตรียมไว้
  • เมื่อรู้สึกไม่สบายหรือต้องการความช่วยเหลือ กรุณาติดต่อพนักงาน
  • เมื่อทำทรัพย์สินสูญหาย หรือพบ หรือเก็บได้ โปรดแจ้งพนักงาน
  • เมื่อพบเห็นการกระทำของบุคคลที่ไม่น่าไว้วางใจหรือวัตถุต้องสงสัย โปรดแจ้งพนักงานทันที
  • โปรดยืนเข้าแถวรอขบวนรถ และวางสัมภาระหลังเส้นเหลือง
  • ควรดูแลเด็กเล็กขณะยืนรอ และเข้า - ออกขบวนรถ
  • โปรดหลีกทางให้ผู้โดยสารในขบวนรถออกก่อน
  • ระวังช่องว่างระหว่างพื้นชานชาลากับขบวนรถ
  • เมื่อได้ยินเสียงสัญญาณปิดประตู ควรหยุดเพื่อรอรถไฟฟ้าขบวนถัดไป
  • เมื่อสิ่งของตกลงราง โปรดแจ้งพนักงานทันที
  • ควรจับห่วง เสา หรือราวขณะเดินทาง
  • โปรดเอื้อเฟื้อที่นั่งแก่เด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
  • โปรดคืนที่นั่งสำรองแด่ภิกษุ สามเณร
  • โปรดดูแลสัมภาระและสิ่งของมีค่าขณะเดินทางในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส
  • เมื่อมีเหตุฉุกเฉิน กรุณาแจ้งพนักงานควบคุมรถไฟฟ้าทันที
  • กรุณาใช้อุปกรณ์ฉุกเฉิน เมื่อมีเหตุจำเป็น

 การใช้บันได และบันไดเลื่อน

เนื่องจากบันไดเลื่อนในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสมีความเร็วสูงกว่าบันไดเลื่อนทั่วไป ผู้โดยสารควรใช้ด้วยความระมัดระวัง

  • โปรดยืน หรือเดินชิดทางด้านขวา และจับราวของบันไดหรือบันไดเลื่อน ขณะขึ้น - ลงทุกครั้ง
  • ห้ามยืนพิงด้านข้าง นั่งบนราวจับของบันไดเลื่อน
  • ห้ามยืนกีดขวางบริเวณทางขึ้น - ลงของบันได
  • ห้ามยื่นศีรษะออกนอกราวจับของบันไดเลื่อน
  • ห้ามยื่นเท้าไปชิดขอบด้านข้างของบันไดเลื่อน
  • ห้ามวางปลายเท้าชิดขอบขั้นของบันไดเลื่อน
  • ห้ามวิ่ง เล่น ผลัก หรือหยอกล้อกันขณะใช้บันได หรือบันไดเลื่อน
  • เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน กรุณากดปุ่มหยุดฉุกเฉินที่ตัวบันไดเลื่อน และรีบแจ้งพนักงานทันที







No comments:

Post a Comment